บทความ

ถั่วเหลืองพืชเศรษฐกิจของชาววังโป่ง

รูปภาพ
              ถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญและเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ มากมาย เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำนมถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนสูงอื่น ๆ บีมทัวร์เกษตร “ beemtourkaset” จะพาไปทำความรู้จักกับการปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองของชาวเกษตรกรอำเภอวังโป่งกันค่ะ             การปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่อำเภอวังโป่ง เกษตรกรจะเลือกพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี และดินมีลักษณะร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนดินเหนียว ถั่วเหลืองจะไม่ชอบน้ำขัง ดังนั้น ควรเลือกแปลงที่สูงหรือมีระบบระบายน้ำที่ดี การเตรียมดินจะเริ่มจากการไถดินให้มีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อกำจัดวัชพืชและเตรียมดินให้ร่วนซุย จากนั้นพรวนดินและตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคและศัตรูพืช หลังจากนั้นใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตราประมาณ 1-2 ตันต่อไร่ เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน และช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ด...

มะพร้าวน้ำหอมที่อำเภอวังโป่ง

รูปภาพ
               อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับในด้านการทำการเกษตรที่หลากหลาย และหนึ่งในพืชที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก คือ มะพร้าวน้ำหอม ซึ่งเป็นพืชยืนต้นที่ปลูกแล้วครั้งเดียวก็ให้ผลผลิตที่ยาวนานเก็บเกี่ยวได้หลายปี อีกทั้งผลผลิต มะพร้าวน้ำหอมจากวังโป่งกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดท้องถิ่น เนื่องจากมีคุณภาพเนื้อดีน้ำหอม ไม่แพ้แหล่งปลูกชื่อดัง             การปลูกมะพร้าวน้ำหอมในอำเภอวังโป่ง เริ่มจากการเกษตรกรได้ทดลองนำพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมจากจังหวัดราชบุรีมาปลูกในพื้นที่ของตนเอง และพบว่าดินและสภาพอากาศที่วังโป่งเหมาะสมกับการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ต้นมะพร้าวเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพสูงด้านรสชาติและความหอม             การปลูกมะพร้าวน้ำหอมที่วังโป่งต้องอาศัยความใส่ใจในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต เริ่มต้นจากการเตรียมพื้นที่โดยการขุดหลุมตามแนวริมคลอง หรือรอบสระ...

การทำสวนเงาะของคนอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์

รูปภาพ
                   ด้วยสภาพดินฟ้าอากาศของที่อำเภอวังโป่ง จังหวัดพชรบูรณ์ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับทำการเกษตรได้อย่างหลากหลายทั้ง ทำนา ทำไร่ ทำสวน ล้วนแล้วแต่ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพ เกษตรกรในอำเภอวังโป่งส่วนใหญ่ก็จะทำนาข้าว และปลูกพืชไร่ พืชสวนต่างๆ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง มะขามหวาน ถั่วแระญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีการปลูกเงาะ และทุเรียนซึ่งได้ผลผลิตดีอีกด้วย EP นี้บีมทัวร์เกษตร “ beemtourkaset” จะพาทุกคนไปดูวิถีการทำสวนเงาะของเกษตรกรวังโป่งกันค่ะ             เงาะเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกในภาคใต้ของประเทศไทย แต่เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมและดินที่อุดมสมบูรณ์ของอำเภอวังโป่ง ทำให้ชาวบ้านเริ่มหันมาปลูกเงาะเป็นพืชเศรษฐกิจ หลายครัวเรือนในพื้นที่จึงหันมาปรับพื้นที่ทำสวนเงาะ ซึ่งเริ่มต้นจากการนำพันธุ์เงาะจากภาคใต้มาเพาะปลูกจนประสบความสำเร็จ             พันธุ์เงาะที่นิยมปลูกในวังโป่งมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เงาะโรงเรียน เป็นพันธุ์ที่ได้รับ...

ถั่วเขียวพืชเศรษฐกิจของชาววังโป่งเพชรบูรณ์

รูปภาพ
                ถั่วเขียว เป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมากในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพราะเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพภูมิประเทศ อีกทั้งยังเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย จึงไม่มีปัญหาในช่วงฤดูแล้ง ในอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์จึงนิยมปลูกถั่วเขียวกันมาก นับเป็นพืชหลักก็ว่าได้ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ แต่ยังเป็นการพัฒนาชุมชนทางด้านการเกษตรที่ยั่งยืนอีกด้วย บีมทัวร์เกษตร “ beemtourkaset” จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกระบวนการปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวถั่วเขียวของชาวเกษตรกรในพื้นที่อำเภอวังโป่งกันค่ะ             การปลูกถั่วเขียวในอำเภอวังโป่งมักจะเริ่มปลูกกันในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน เนื่องจากอากาศในช่วงนี้มีความชื้นที่เพียงพอ และมีฝนตกสม่ำเสมอ จะทำให้ถั่วเขียวเจริญเติบโตได้ดี การปลูกถั่วเขียวจะเริ่มจากการเตรียมดิน โดยไถดินให้ลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร เพื่อกำจัดวัชพืช และเศษซากพืชที่เหลือจากการปลูกครั้งก่อน จากนั้นพรวนดินให้ร่วนซุย และตากดินทิ้งไว้ประ...

มะขามหวานวังโป่งเพชรบูรณ์

รูปภาพ
               จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เมืองมะขามหวาน” เป็นแหล่งปลูกมะขามหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและให้ผลผลิตดีมีคุณภาพจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพืชเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ( GI ) ที่มีสภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ธรรมชาติที่เหมาะสมกับการปลูกมะขามหวานที่มีคุณภาพดี หลากหลายสายพันธุ์ ฝักใหญ่ เนื้อเหนียวนุ่ม รสชาติหวานสนิท และที่อำเภอวังโป่งก็เป็นแหล่งปลูกมะขามหวานในจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ จนได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดมะขามหวาน ประจำปี 2567 ทั้งสิ้น 2 รางวัล คือ พันธุ์สีทอง และพันธุ์ขันตี และยังมีมะขามหวานสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นในพื้นที่อ.วังโป่งอีกด้วย เช่น พันธุ์เพชรซับเปิบ ที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ปีซ้อนในปี 2561-2563 และรางวัลสุดยอดมะขามหวานในปี 2563 บีมทัวร์เกษตร “beemtourkaset” จะพาทุกคนไปดูวิถีการทำสวนมะขามหวานของเกษตรกรวังโป่งกันค่ะ มะขามเป็นพืชไม้เขตร้อนที่ทนแล้ง สามารถขึ้นได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด เช่น ดิน ทราย ดินเหนียว ดินลูกรัง แต่สภาพพื้นดินที่เหมาะสมที่สุดก็คือ ดินร่วนปนทราย แต่พื้นท...

ทุเรียนวังโป่งเพชรบูรณ์

รูปภาพ
          ด้วยสภาพภูมิประเทศของอำเภอวังโป่งที่ใกล้ริมน้ำ สภาพดินมีลักษณะโป่ง ชาวบ้านจึงเรียกว่าบ้านวังดินโป่ง เหมาะสำหรับการทำการเกษตร ซึ่งนอกจากเกษตรกรอำเภอวังโป่งจะนิยมปลูก ข้าว ข้าโพด มันสำปะหลัง ถั่วแระญี่ปุ่น และพืชผักผลไม้ชนิดอื่นๆ แล้ว เกษตรกรยังนิยมปลูกทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ และได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ ที่ดังไกลไปจนถึงพ่อค้าคนกลางจากจังหวัดจันทบุรีมาติดต่อขอรับซื้อผลผลิตทุเรียนยกสวนกันเลยทีเดียว ทำให้เจ้าของสวนทุเรียนมีรายได้จากการขายทุเรียนอย่างงดงาม ขณะเดียวกันชาวบ้านในวังโป่งก็ยังติดใจ ขอจองทุเรียนล่วงหน้าเลยทีเดียว           บีมทัวร์เกษตร “beemtourkaset” จะพาไปดูวิธีการทำสวนทุเรียนของเกษตรกรวังโป่งกันค่ะ เจ้าของสวนบอกว่าการปลูกทุเรียนหลายคนคงเจอปัญหาไม่น้อย ปลูกอย่างไรให้รอด สิ่งสำคัญคือ จะต้องปลูกในพื้นที่ดินที่มีความเหมาะสม ดินต้องมีลักษณะเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวปนทรายจะทำให้ดินระบายน้ำได้ดี เพราะทุเรียนเป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อการถูกน้ำท่วมขัง เมื่อเจอน้ำท่...

ถั่วแระญี่ปุ่นที่วังโป่ง

รูปภาพ
          เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวชาววังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ ก็จะเริ่มที่ทำการปลูก "ถั่วแระญี่ปุ่น" ซึ่งเป็นช่วงที่สภาพอากาศเหมาะสม ไม่ร้อนมากทำให้การปลูกถั่วแระได้ผลผลิตดีกว่าฤดูร้อน หากปลูกช่วงฤดูร้อนจะทำให้ผลผลิตออกมาค่อนข้างต่ำ เกษตรกรชาววังโป่งจึงเริ่มปลูกถั่วแระกันช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว โดยใช้ระยะเวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 65-70 วัน           บีมทัวร์เกษตร “beemtourkaset” จะพาไปดูวิธีการปลูกถั่วแระญี่ปุ่นที่ชาวเกษตรกรวังโป่งเริ่มหันมานิยมปลูกกันมากขึ้น เพราะได้ผลผลิตดีราคาจำหน่ายสูง และกำไรก็มากด้วย เนื่องจากถั่วแระญี่ปุ่นสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ผัดถั่วแระญี่ปุ่นใส่กุ้ง ผัดผักรวม และยังนำมาต้มใส่เกลือเล็กน้อยเป็นอาหารว่างได้อร่อยเพลินอีกด้วย            การปลูกถั่วแระ เกษตรกรเริ่มจากการเตรียมแปลงปลูกโดยจะไถพรวนดิน 2 ครั้ง เพื่อให้ดินร่วน และเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว จากนั้นจะทำการยกร่องดินให้ห่างกันประมาณ 1-1.2 เมตร หากสภาพแปลงปลูกไม่สม่ำเสมอ หลังยกร่องควรปล่อยน้ำลงร่องก่อนปลูก เพื่อจ...